เมื่อติดเชื้อHIVควรควบคุมอาหารอย่างไร
สำหรับผู้ที่ร่างกายมีเชื้อ HIV/AIDS นั้นการดูแล ควบคุมอาหารเป็นพิเศษจะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีเพื่อให้การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างราบรื่น การกินอาหารตามแบบเดิมๆที่เคยชินก่อนที่จะได้รับเชื้อเอดส์ อาจมีผลกระทบต่อร่างกายที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่แข็งแรงเหมือนเดิม หากยังคงใช้ชีวิตด้วยไลฟ์สไตล์แบบเดิมๆ ดังนั้นผู้ที่มีเชื้อ เอชไอวี หรือเอดส์ ควรใส่ใจเรื่องอาหารเป็นพิเศษ บทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่เราได้รวบรวมสรุป มาไว้ให้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจ เป็นแนวทางอย่างหนึ่งเพื่อให้สามารถลดอาการเจ็บป่วย ที่ต้องนอนโรงพยาบาล การมีโรคแทรกซ้อน การรักษาน้ำหนักร่างกายให้สมดุล หรือแม้กระทั่งการเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อยู่ในระดับดี สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนบุคคลทั่วไป ลองศึกษาการเลือกรับประทานอาหารตามที่แนะนำนี้ดูนะคะ
อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพที่ดีควรให้ประโยชน์ดังนี้
- เพิ่มคุณภาพระบบภูมิคุ้มกัน
- ช่วยให้ร่างกายมีพละกำลัง
- ช่วยเสริมสร้างและรักษาการคงสภาพของกล้ามเนื้อ
- ช่วยให้ปรับสมดุลน้ำหนักของร่างกายที่เหมาะสม
- ช่วยส่งเสริมให้ยาออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หัวใจ และ มะเร็ง เป็นต้น
สารอาหารหลักๆทำหน้าที่ให้ประโยชน์ดังนี้
โปรตีน (Protein) ; สร้างกล้ามเนื้อและระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates); รวมทั้งแป้ง น้ำตาล ; ให้พลังงานแก่ร่างกาย
ไขมัน(Fat); เพิ่มพลังงานมากขึ้น
วิตามิน (Vitamin); ช่วยกระบวนการการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ
เกลือแร่ แร่ธาตุต่าง ๆ (Minerals);สร้างเนื้อเยื่อและ ช่วยกระบวนการการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ
น้ำ (water); ช่วยให้รูปร่างของเซลล์และการทำงานอยู่ในสภาพเหมาะสม
กลุ่มอาหารที่ควรเลือกรับประทาน มีดังนี้
เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ -Grains
ปริมาณต่อมื้อ คือ 1 ออนส์ หรือ ขนมปังธัญพืช 1 แผ่น หากกินแบบซีเรียลแบบเย็นก็ 1 ถ้วย หรือ แบบนำไปประกอบอาหารก็ประมาณ ½ ถ้วย เช่นกินเป็นอาหารเช้าซีเรียล โอ๊ตมีล ขนมปัง และ พาสต้า เป็นต้น
ควรกินแบบ โฮลแกรนด์ Whole grains ไม่ขัดเปลือกออก อย่างน้อยครึ่งถ้วย เช่น โฮลวีท ข้าวกล้อง ข้าวบาเล่ย์ ข้าวโอ๊ต ข้าว bulgur
ผัก- Vegetables
ปริมาณต่อมื้อ 1 ถ้วยแบบผักสด หรือปรุงสุกก็ได้ , กินผักใบเขียวแบบสด 2 ถ้วย
จะกินแบบไหนก็ได้ทั้งปั่นเป็น น้ำผักสด หรือ ผักสด ปรุงสุก หรือแบบแช่แข็ง ก็ได้ หากแบบแช่แข็งให้นำไปล้างน้ำเพื่อเอาเกลือที่ปะปนมา ออกให้หมดก่อน
ผักที่มีสีต่างต่าง ๆ ผสมกันเป็นผักรวมเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลาย รวมถึงผักใบเขียวเข้มก็ควรกินบ่อย ๆ เช่น ผักขม ผักกาดหอม ผักเคล เป็นต้น
ผลไม้-Fruits
ปริมาณต่อมื้อ น้ำผลไม้ 100% ควรมีกากผสมด้วยจะดีกว่าคั้นแต่น้ำหรือผลไม้สด 1 ถ้วย , ผลไม้อบแห้ง ½ ถ้วย
กินได้ทั้งแบบ ดิบสด ปรุงสุก หรือ แช่แข็ง ควรกินผสมกันแบบหลากหลายชนิด

ควรปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารอย่างไรเมื่อรู้สึกมีอาการไม่ค่อยดี
การจัดการเมื่อมีอาการท้องร่วง
อาการท้องร่วงมักเกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับผู้ที่มีเชื้อ HIV/AIDS ซึ่งเป็นสามเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ร่างกายอ่อนเพลีย น้ำหนักลด ซึ่งควรต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรเพื่อหลีเลี่ยงและหากขับถ่ายบ่อยทั้งวันควรไปพบแพทย์ ในเบื้องต้นควรทำดังนี้
ดื่มน้ำบ่อย ๆเท่าที่จะทำได้รวมทั้งน้ำที่ได้จากธรรมชาติปลอดภัยเช่น น้ำเปล่าสะอาด น้ำมะพร้าวสด น้ำชาสมุนไพร น้ำผลไม้รวม เป็นต้น กิน กล้วย ข้าวขาว โจ๊ก ไก่ หรือ เนื้อตุ๋น ก๋วยเตี๋ยว
งดอาหารประเภท นม ชีส ไอศครีม เมนูทอดมันๆ เช่น เฟรนช์ฟลาย มันฝรังทอด เนื้อทอด อาหารกากใยสูง บล็อคเคอรี่ กะหล่ำปลี อาหารรสเผ็ด หรือปรุงรสอาหารด้วยผงใบผักสมุนไพร หรือ น้ำส้ม
การจัดการกับการไม่รู้สึกหิว เบื่ออาหาร
อาการนี้มักเกิดจากภาวะเครียด รู้สึกโดดเดี่ยว ผลข้างเคียงจากยา ทำให้น้ำหนักลด ควรทำดังนี้
กินครั้งละปริมาณน้อย ๆ โดยแบ่งเป็นมื้อย่อย 6 มื้อต่อวัน เป็นอย่างน้อย หรือกินแต่ละมื้อห่างกัน ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง หากออกไปนอกบ้านให้พกอาหารว่างง่ายๆไปด้วยเช่นเมล็ดถั่วอบแห้ง กล้วย แครกเกอร์ เป็นต้น และ ออกกำลังกายเบาๆเช่นการเดิน กินอาหารเสริมที่ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร
การจัดการกับลิ้นรับรู้รสชาดเปลี่ยนไป
แปรงฟันและลิ้น ด้วยแปรงสีฟันอ่อนก่อนและหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
ก่อนกินอาการบ้วนปากด้วยเบกกิ้งโซดาผสมน้ำอุ่น ห้ามกลืน
ดื่มน้ำทาร์ตผลไม้เช่น ส้ม แคนเบอร์รี่ ก่อนกินอาหาร
หลีเลี่ยง อาหารแห้ง เหนียว เคี้ยวยาก ร้อนจัด และรสเผ็ด
การจัดการเมื่อกลืนอาหารลำบาก
อาการกลืนลำบากมักเกิดจากการรักษาที่มีผลข้างเคียงมีสาเหตุแตกต่างกันซึ่งต้องปรับการกินอาหารหากมีอาการกลืนลำบาก คือ ควรกินอาหารลักษณะอ่อนๆ มันฝรั่งบด ไข่ เนื้อบด พุดดิ้ง โอ๊ตมีล ผลไม้กระป๋อง
ใช้หลอดเมื่อต้องการดื่มน้ำ ดื่มน้ำซุป จากแก้ว ดีกว่าจากถ้วย ทำอาหารแบบปั่นละเอียดเพื่อง่ายต่อการกลืนกิน
การจัดการกับการคลื่นไส้
กินอาหารรสเค็ม เช่น พาสเซล แคร็กเกอร์รสเค็ม แบ่งอาหารมื้อละปริมาณน้อย ๆ กินบ่อย ๆ อย่างน้อย 6 มื้อต่อวันและมีอาหารว่างด้วย
งดอาหารประเภท นม ชีส ไอศครีม เมนูทอดมันๆ เช่น เฟรนช์ฟลาย มันฝรังทอด เนื้อทอด ข้าวโพดคลุกเนยสด ผลไม้ น้ำผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม องุ่น กาแฟ นม
การจัดการกับการท้องผูก
กินอาหารที่ไม่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ เน้นกินอาหารที่มีกากใยสูงเช่น ขนมปังโฮลวีท ผัก ผลไม้ ถั่ว จมูกข้าว ออกกำลังกายเบาๆเช่นการเดิน เพิ่มการกินผลไม้เช่นพรุน เป็นต้น
การกินอาหารเสริมวิตามิน
การกินวิตามินเสริมแบบวิตามินรวมนั้นย่อมมีอยู่แล้ว ควรกินพร้อมอาหารหลักที่มีไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรตร่วมด้วยและอย่ากินมากเกินความจำเป็นตามกำหนดของ RDI แนะนำ
แนะนำเพิ่มเติม
ควรกินโปรตีนเป็นหลักด้วยเพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อ
รักษาน้ำหนักให้ได้มาตรฐานดูการกินการออกกำลังกายให้สมดุล
ดูปัสสาวะควรมีสีเหลืองอ่อนหากมีสีเหลืองเข้มควรเพิ่มการดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น
เพิ่ม สารต้านการอักเสบ น้ำมันโอเมก้า 3 ไปในมื้ออาหารด้วย
เพิ่มวิตามินดีและแคลเซียมในวัยผู้ใหญ่
ห้ามกิน ไข่ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ดิบ ๆ
ล้างมือ และ ผักผลไม้ต่าง ๆให้สะอาดก่อนกินอาหารทุกครั้ง
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม: health.ny.gov, thewellproject.org, hiv.gov, aidsinfo.nih.gov

Add a Comment
You must be logged in to post a comment