คนเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ ต้องระวังเรื่องอาหารที่ห้ามกินเป็นพิเศษ
Hyperthyroidism ( โรคไทรอยด์)
คือ ร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติจากต่อมไทรอยด์เอง ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น น้ำหนักลดลงรวดเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด การมองเห็นภาพจะเบลอๆ ตาโปน กินเยอะแต่ผอมมาก เมื่อมีปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปจนไทรอยด์เป็นพิษอาจเกิดจาก โรค เกรฟส์(Graves’Disease), เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ การอักเสบของต่อมไทรอย์(Thyroiditis) ได้รับยาที่เสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปที่เป็นผลข้างเคียงของการได้รับยารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเช่นยา Amiodorone เป็นต้น ซึ่งต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและวางแผนการรักษาโรคไทรอยด์ หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ต่อไป
ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus ) เป็นโครงสร้างของสมองอยู่ใต้ ทาลามัส(Thalamus ทำหน้าที่รับรู้ความเจ็บปวดและเป็นศูนย์รวมกระแสผ่านเข้าออกหรือสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อไปยังจุดต่างๆในสมอง)แต่เหนือก้านสมอง มีขนาดประมาณถั่วอัลมอนด์, ซึ่งไฮโปทาลามัส (Hypothalamus ) ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อในการผลิต ควบคุมและยับยั้งการผลิตฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย หรือเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางการควบคุม ระบบการเผาผลาญ ระบบพลังงานของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความหิว ความดันเลือด การนอนหลับ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ การหลั่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ความกระหายน้ำ ความโกรธ หงุดหงิดการแสดงสภาวะอารมณ์ การรักษาสมดุลสารน้ำในร่างกายนั่นเอง
สำหรับหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนไทรอยด์คือ ไฮโปทาลามัสจะหลั่ง TRH (Thyroid-releasing Hormone) ฮอร์โมนนี้มีผลไปควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมอง(Pituitary gland ,มีขนาดประมาณเท่าเม็ดถั่วลันเตา มีสองส่วนหลักคือต่อมใต้สมองส่วนหน้า anterior lobe Pituitary และต่อมใต้สมองส่วนหลัง posterior lobe Pituitary ซึ่งต่อมใต้สมองส่วนหน้า ถือว่าเป็น Master gland เนื่องจากทำงานร่วมกันกับ Hypothalamus ในการควบคุมต่อมไร้ท่อชนิดอื่น) กระตุ้นให้หลั่ง TSH (Thyroid stimulating Hormone ) ไปออกฤทธิ์ที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland,เป็นต่อมที่อยู่ส่วนหน้าบริเวณลำคอใต้ลูกกระเดือกมีลักษณะคล้ายผีเสื้อกางปีกมีซีกซ้าย ขวา ) กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนไทร็อกซีน (Thyroxine,T4) และไตรไอโอโดไทโรนีน (Triiodothyronine,T3) ที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิร่างกาย อัตราการการเต้นของหัวใจ
ซึ่งT4, T3 ที่อยู่ในเลือดส่วนใหญ่จะจับอยู่กับโปรตีน Thyroxine-binding globulin (TBG) ส่วนที่เหลือที่ไม่จับกับโปรตีนจะเรียกว่า FreeT4,Free T3 ดังนั้นเมื่อต้องเจาะเลือดเพื่อส่งแล็ปตรวจวิเคราะห์เลือดตามดุลพินิจของแพทย์จึงเห็นได้ว่า อาจมีการส่งตรวจเพื่อหาปริมาณของ TRH,TSH,T3,T4,FreeT4,FreeT3,TBG และอื่นๆในเลือดเป็นต้นเพื่อประกอบการวินิจฉัยหาสาเหตุ การติดตามผลการรักษา ซึ่งผู้ป่วย Hyperthyroidism ( โรคไทรอยด์)ควรดูแลสุขภาพ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลต่อการรักษา อย่างเคร่งครัดเพื่อช่วยให้ผลการรักษานั้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจมากยิ่งขึ้นและผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขมากที่สุด
สำหรับเรื่องอาหาร หลักๆคือต้องควบคุมอาหารประเภท Low iodine คือต้องไม่มีส่วนประกอบของ ธาตุไอโอดีน หรือมีปริมาณธาตุไอโอดีนต่ำๆ เพราะฮอร์โมนไทรอยด์มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญนั่นเอง
คนเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษต้องระวังเรื่องอาหารที่ห้ามกินดังนี้
Hyperthyroidism
1. ต้องไม่กินเกลือที่เสริมไอโอดีน
2. หลีกเลี่ยง ผลิตภัณฑ์จากนม หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของนม เช่น ไอศกรีม โยเกิร์ต เนย ขนมปัง
3. หลีกเลี่ยงอาหารทะเล ไม่ว่าจะเป็นพืช ผักจากทะเล kelp สาหร่ายทะเล กุ้ง หมึก ปลา ปู หอย เพราะจะมีส่วนประกอบไอโอดีนสูง เป็นต้น
4. หลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณการกินอาหารประเภทเส้น เช่นก๋วยเตี๋ยว เส้นพาสต้า มะกะโรนี
5. อาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไก่ หมู กินได้ในปริมาณจำกัด
6. เลี่ยงอาหารเสริมสมุนไพร แตงกวา ขึ้นฉ่าย แครอท ฟักทอง บล็อคเคอรี่ ผักสลัดLettuce
7. อาหารที่เจือปน หรือมีส่วนประกอบของ คาราจีแนน Carrageen(สารสกัดจากสาหร่ายทะเล) ,ผงวุ้น Agar-agar, แอลจิเนต Alginate (เป็นสารสกัดได้จากสาหร่ายสีน้ำตาล), Nori สาหร่ายญี่ปุ่น พวกสาหร่ายสีแดง ทั้งที่อยู่ในซูชิ ข้าวปั้น เป็นต้น
8. เบเกอรี่ขนมปังต่างๆตามท้องตลาดเพราะมักมีส่วนประกอบของ เกลือไอโอดีน นม เนย
9. สีผสมอาหารที่เป็นสารสีแดง(Erythrosine) มักพบในเครื่องดื่มตามเทศกาลที่ตกแต่งให้มีสีแดง ลูกเชอรี่เชื่อมสีแดง ซึ่งสารเคมีนี้มีชื่อว่า FD&C red dye #3 ซึ่งก็คือเป็นเกลือ disodium salt of 2,4,5,7-tetraiodofluoresein มักจะใช้ประโยชน์ในสีผสมอาหาร ลูกอม ขนมเค้ก นั่นเอง
10. ไข่แดง ขนมหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของ ไข่แดงเป็นหลัก
11. กากน้ำตาล(Blackstrap molasses)มักพบในซีอิ๊วดำ ซอสหวาน ปกติโรงงานผลิตมักใส่ sulfur dioxide ลงไปเพื่อรักษาสภาพ แต่ถ้าเป็นแบบ ไม่ใส่ก็ไม่เป็นไรกินได้ ชนิด unsulphured molasses
12. ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ ซอสปรุงรส เพราะมีผลต่อการรักษา มีผลต่อการขัดขวางการรักษาด้วยแร่ไอโอดีน 131 (Radioactive iodine) ที่เป็นต่อมไทรอยด์เป็นพิษ และขัดขวางการดูดซึม Thyroxine
13. เลี่ยงกลูเตน gluten: ข้าวสาลี บาร์ล่ย์ มอลล์ ถัวเหลือง 14. ยาบางชนิดมีผลต่อการดูดซึม Thyroxine ได้ เช่นหากกินวิตามินเสริมชนิดเม็ดที่มีธาตุเหล็ก iron (ferrous sulphate) หรือวิตามินรวมที่อาจมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสูง ในขณะที่กิน Thyroxine แพทย์บางท่านแนะนำควรกินห่างกันสองชั่วโมง
ประเภทอาหารสำหรับคนเป็น Hyperthyroidism ( โรคไทรอยด์)ที่กินได้
1. เกลือที่ไม่มีไอโอดีน
2. ไข่ขาว
3. ผัก ผลไม้สด
4. ธัญพืช ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง ซีเรียลที่ไม่มีส่วนประกอบของไอโอดีนสูง
5. ผักแช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง
6. ถั่วเปลือกแข็งที่ไม่ใส่เกลือไอโอดีน เช่น อัลมอนด์ ลันเตา
7. โซดา เบียร์ น้ำผลไม้ ชา กาแฟ ไม่ใส่นม ครีม นมถั่วเหลือง
8. น้ำตาล แยม น้ำผึ้ง
9. แคร็กเกอร์ชนิด Matzoh cracker เพราะมีส่วนประกอบแค่ แป้งอเนกประสงค์ เกลือเม็ดที่ไม่ผสมไอโอดีน น้ำมันมะกอกนิดหน่อย และน้ำอุ่น เท่านั้น
10. พริกไทยดำ เครื่องเทศ ผักสมุนไพร
อาหารประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษกินได้ดังนี้
Hyperthyroidism
หน่อไม้ บ๊อกฉ่อย กะหล่ำดอก ผักคะน้า มันสำปะหลัง
อาหารที่มีธาตุเหล็ก: ถั่วแห้ง ผักใบเขียว ธัญพืช เนื้อแดง เนื้อไก่ เมล็ดพืช
อาหารที่มีธาตุเซเลเนี่ยม เพื่อช่วยรักษาระดับไทรอยด์ : ถั่ว Brazil nuts, เมล็ดเจีย เห็ด เม็ดฟักทอง ข้าวโอ๊ต เนื้อไก่ ข้าว
ธาตุซิงค์ : เนื้อวัว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วเขียว กะทิ เม็ดฟักทอง
ธาตุแคลเซียมและวิตามินดี: ผักโขม ผักคะน้า นมถั่วอัลมอนด์ ถั่วขาว ผักกระเจี๊ยบ ตับวัว น้ำมันปลา
น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ : น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันอะโวคาโด้ น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย
อาหารรสเผ็ด: พริกเขียว พริกไทยดำ ขมิ้นชันferrous sulfate
Thank you sources: ATA (American Thyroid Association) thyroid.org, healthline , endocrineweb, yourhormones , Med.psu, Med.nu, food network solution, btf-thyroid.org

Add a Comment
You must be logged in to post a comment